เผยแพร่แล้ว: มิ.ย. 26, 2020
 
   
 
  คำสำคัญ:
  พยาบาลเวรตรวจการ
  การพัฒนาแนวทางการปฏิบัติงาน
  การประเมินผลการใช้แนวทาง
  ปฏิบัติงาน
 
   
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 
   
 
 
 
    Language
 
      English  
      ภาษาไทย  
 
 
    Information
 
      สำหรับผู้อ่าน  
      สำหรับผู้แต่ง  
      สำหรับบรรณารักษ์  
 
 
    Home ThaiJo
 
   
 
 
 
    Manual
 
      For Author  
      For Reviewer  
 
 
    เว็บไซต์
 
      โรงพยาบาล
    เจริญกรุงประชารักษ
 
      www.ckphosp.go.th  
 
 

 

 
     
 
 
     
     
 

การพัฒนาแนวทางการปฏิบัติงานสำหรับพยาบาลเวรตรวจการ
โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร

 
     
     
 
ประพิมพรรณ เกรียงวัฒนศิริ
ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลกลาง สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร


บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:  เพื่อพัฒนาและประเมินผลการใช้แนวทางการปฏิบัติงานสำหรับพยาบาลเวรตรวจการ โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร


วิธีดำเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลเวรตรวจการ โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ 8 โรงพยาบาล ประกอบด้วย
โรงพยาบาลกลาง โรงพยาบาลตากสิน โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ โรงพยาบาลสิรินธร โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ และโรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ร่างแนวทางการปฏิบัติงานสำหรับพยาบาลเวรตรวจการ
โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร 2) แบบวัดความรู้เรื่องแนวทางการปฏิบัติงานสำหรับพยาบาลเวรตรวจการโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร  3) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้แนวทางการปฏิบัติงานสำหรับพยาบาลเวรตรวจการ โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
วิเคราะห์ข้อมูลความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัย:  พบว่า 1) แนวทางการปฏิบัติงานสำหรับพยาบาลเวรตรวจการฯ มี 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการบุคลากร ด้านการบริหารจัดการเตียงผู้ป่วยใน ด้านการ บริหารงานทั่วไป ด้านการบริการทั่วไป และด้านการประสานงานและการรายงาน 2) ผลการใช้แนวทางการปฏิบัติงานสำหรับพยาบาลเวรตรวจการโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร พบว่า พยาบาลเวรตรวจการมีความรู้เรื่องแนวทางการปฏิบัติงานสำหรับพยาบาลเวรตรวจการโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก (= 0.63, SD = 0.44) และมีความพึงพอใจต่อการใช้แนวทางการปฏิบัติงานสำหรับพยาบาลเวรตรวจการ
โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก (= 3.81, SD = 0.90)


สรุป:  แนวทางการปฏิบัติงานสำหรับพยาบาลเวรตรวจการ โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เป็นแนวทางที่ช่วยให้พยาบาลเวรตรวจการ มีความรู้ในการบริหารจัดการและการประสานงานขณะปฏิบัติงาน ตลอดจนสร้างความพึงพอใจให้แก่พยาบาลเวรตรวจการในการปฏิบัติงานได้

 
     
     
     
 
   ฉบับ  

    ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 (2020): มกราคม - มิถุนายน 2563

 
 
     
     
 
   บทความ  
    บทความวิจัย  
 
     
     
     
 

References

1. สภาการพยาบาล. สมรรถนะผู้บริหารการพยาบาล. กรุงเทพฯ: สภาการพยาบาล; 2556.
2. สุดารัตน์ วรรณสาร, รัตนาวดี ชอนตะวัน, สมใจ ศิระกมล. การพัฒนาการนิเทศการพยาบาลของ
ผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่. พยาบาลสาร 2556;
40(ฉบับพิเศษ): 57-68.
3. Monster. Nurse Supervisor Job Responsibilities [Internet]. 2019[cited 2019 May 1]. Available from
https://hiring.monster.com/employer-resources/job-description-templates/nurse-supervisor-job-
description/.
4. วารี วณิชปัญจพล, สุพิศ กิตติรัชดา. การบริหารการพยาบาลสู่คุณภาพ การนิเทศการพยาบาล.
กรุงเทพฯ : สามเจริญพาณิชย์; 2551.
5. อำไพย์ ขอพึ่ง. ตัวประกอบของสมรรถนะของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการในโรงพยาบาลทั่วไป
[วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา; 2556.
6. สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ
ฉบับที่ 4. นนทบุรี: สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน); 2561.
7. โรงพยาบาลกลาง. รายงานสรุปโครงการการพัฒนาภาวะผู้นำของพยาบาลเวรตรวจการ โรงพยาบาลสังกัด
สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร; 2561.
8. อัจฉราวรรณ งามญาณ. อันเนื่องมาแต่สูตรของยามาเน่. วารสารบริหารธุรกิจ, 2554; 32(121): 41-60.
9. สุจิตรา เหลืองอมรเลิศ. สมรรถนะผู้บริหารการพยาบาล. กรุงเทพฯ: บริษัทจุดทอง; 2556.
10. นุศริน โกสีย์วงศานนท์, สุคนธ์ ไก่แก้ว, เบ็ญจวรรณ พุทธิอังกูร. ผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วน
ร่วมต่อความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ ที่โรงพยาบาล
ตติยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
2561; 14(1): 25-39.
11. กุลดา พฤติวรรธ์น, รัชนี วงค์แสน, สิทธิพันธ์ ถนอมพันธ์, สมรรถเนตร ตะริโย. การเพิ่มประสิทธิผลการ
ดูแลผู้ป่วยเพื่อลดการติดเชื้อดื้อยา แผนกอายุรกรรมและศัลยกรรม โรงพยาบาลนครพิงค์. วารสารกอง
การพยาบาล, 2560; 44(4): 10-33.
12. Charat P. learning by doing [Internet]. 2010[cited 2020 January 20]. Available from https://
www.gotoknow.org/posts/231204.
13. เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, รจกร กัลยางกรู, อารีย์ ฟองเพชร, สิริเกต สวัสดิวัฒนากุล, รุ่งนภา ป้องเกียรติชัย.
การจัดการทางการพยาบาลเพื่อความปลอดภัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สุขุมวิทการพิมพ์; 2549.
14. Goleman D. Working with Emotion Intelligence. New York: Bantam Book; 1998.
15. ภัคพร กอบผึ้ง, ชนกพร อุตตมะ. สมรรถนะของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการตามการรับรู้ของ
ตนเองและพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลนครพิงค์. วารสารกองการพยาบาล 2553; 37(2): 27-37.
16. Vestal KW. Nursing Management: Concepts and Issues. 2nded. Philadephia: J.B.Lippincott; 1995.
17. อภิสิทธิ์ คุณวรปัญญา. การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย Routine to Research (R2R) เทคนิคและวิธีการ
จัดทำคู่มือปฏิบัติการ. [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 23 มีนาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก https://
science.swu.ac.th/Portals/22/QA/KM/2019/R2R_1_04062562.pdf.
18. สังวาล สกะมณี, สัญญา โพธิ์งาม, พิชา คนกาญจน์. ผลการพัฒนาสมรรถนะผู้ตรวจการพยาบาลนอก
เวลาราชการ ด้านการนิเทศกลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลสิงห์บุรี. วารสารพยาบาลทหารบก
2560; 18(ฉบับพิเศษ): 248-56.